Friday, January 3, 2014

ต้นพลู


ชื่อวิทยาศาสตร์  : Piper betle Linn.
วงศ์  : PIPERACEAE
ชื่อท้องถิ่น  : เปล้าอ้วน ซีเก๊าะ (มลายู - นราธิวาส ) พลูจีน (ภาคกลาง)
ลักษณะของพืช  : พลูเป็นไม้เลื้อย  มีข้อ และมีปล้องชัดเจน ใบเดี่ยวติดกับลำต้น แบบสลับคล้ายใบโพธิ์  ปลายแหลม  หน้าใบมัน  ดอกออกรวมกันเป็นช่อแน่น
การปลูก  : ใช้ลำดับต้นที่มีข้อ 3-5 ข้อ ปักชำจนรากออกดีแล้ว จึง ย้ายไปปลูกในหลุม ทำค้างให้เถาพลูเลื้อยด้วย คอยดูแลความชุ่มชื้น กำจัดวัชพืชให้ดี ศัตรูพืชก็เช่นเดียวกัน และจำต้องให้ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ เช่น 15 วันต่อครั้ง
ใบพลูเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่สำคัญในการส่งออก ประเทศที่นำเข้าใบพลูจากประเทศไทยส่วนมากเป็นประเทศทางตะวันออกกลางนั่นเอง ปากีสถานและอัฟกานิสถาน และัยังไม่เพียงพอในการจำหน่ายในต่างประเทศด้วย  พลูส่วนมากปลูกกันในภาคกลางและภาคอีสาน
ส่วนที่ใช้เป็นยา  : ใบสด
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา   : เก็บในช่วงสมบูรณ์เต็มที่
รสและสรรพคุณยาไทย  : รสเผ็ดร้อนเป็นยาฆ่าเชื้อโรค ขับลม ในชนบทใช้ใบพลูตำกับเหล้าทาบริเวณที่เกิดเป็นลมพิษให้หายได้ ใช้รับประทานกับหมากและปูนแดงก็ได้ โดยมากเป็นคนเก่าๆ ที่ชอบรับประทานหมาก
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์  : ใบพลูมีน้ำมันหอมระเหย (Essential oil)  ประกอบด้วย chavicol,  chavibitol,  cineol,  eugenoi,  carvacrol,  caryophyllene,  B-sitosterol  และอื่นๆ สารเหล่านี้มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ โรคได้  ทำให้ปลายประสาทเกิดความชา  แก้อาการคันได้ดี  เนื่องจากยังไม่มีรายงานการศึกษา  ฤทธิ์แก้แพ้  แก้อักเสบ จากสารประกอบ อาจจะ เป็นสารพวก B- sitosterol  ที่ช่วยในการลดอาการอักเสบ
วิธีใช้  : ใบพลู  ใช้เป็นยารักษาอาการแพ้  อักเสบ  แมลงสัตว์กัดต่อย ได้ผลดีมาก  กับอาการแพ้ในลักษณะลมพิษ  โดยการเอาใบพลูมาสัก 1-2 ใบ ล้างให้สะอาด  ตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าโรง  ทาบริเวณที่เกิดลมพิษ  แต่ห้ามใช้กับแผลเปิดจะทำให้เกิดอาการแสบมาก
แหล่งอ้างอิง : http://www.ajareeherb.com/2010-06-10-03-39-49/2010-07-05-08-34-03.html

No comments:

Post a Comment