ว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) คือ พืชชนิดหนึ่งที่ถูกจัดอยู่ในประเภทพืชล้มลุก สีเขียว มีลักษณะลำต้นเป็นข้อปล้อง ใบเดี่ยว ใบหนายาวและโคนใบใหญ่ ปลายแหลม ขอบใบมีหนามห่างกันเป็นระยะ เรียงเป็นชั้น ข้างในใบเป็นวุ้นใสสีเขียวอ่อน มีเมือกเหนียว สามารถออกดอกสีแดงอมเหลืองที่ปลายยอดได้ มีถิ่นกำเนิดมาจากแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและตอนใต้ของทวีปแอฟริกา สามารถปลูกได้ง่ายในดินทราย หรือในกระถางก็ได้ เป็นพืชชอบน้ำ แต่ต้องมีทางระบายน้ำได้ดี ป้องกันไม่ให้อมน้ำมากเกินไปจนรากเน่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aloe vera (L.) Burm.f.
ชื่อพ้อง : Aloe barbadensis Mill
ชื่อสามัญ : Star cactus, Aloe, Aloin, Jafferabad, Barbados
วงศ์ : ASPHODELACEAE
ชื่ออื่น : หางตะเข้ (ภาคกลาง) ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ)
ชื่อพ้อง : Aloe barbadensis Mill
ชื่อสามัญ : Star cactus, Aloe, Aloin, Jafferabad, Barbados
วงศ์ : ASPHODELACEAE
ชื่ออื่น : หางตะเข้ (ภาคกลาง) ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร ลำต้นเป็นข้อปล้องสั้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนรอบต้น ใบหนาและยาว โคนใบใหญ่ ส่วนปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหนามแหลมห่างกัน แผ่นใบหนาสีเขียว มีจุดยาวสีเขียวอ่อน อวบน้ำ ข้างในเป็นวุ้นใสสีเขียวอ่อน ดอก ออกเป็นช่อกระจะที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว ดอกสีแดงอมเหลือง โคมเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6 แฉก เรียงเป็น 2 ชั้น รูปแตร ผล เป็นผบแห้งรูปกระสวย
ว่านหางจระเข้เป็นต้นพืชที่มีเนื้อิ่มอวบ จัดอยู่ในตระกูลลิลเลี่ยม (LILIUM) แหล่งกำเนิดเดิมอยู่แถบชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนและบริเวณตอนใต้ของทวีปอาฟริกา พันธ์ของว่านหางจระเข้มีมากมายกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีทั้งพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่มากจนไปถึงที่มีขนาดเล็กกว่า 10 c.m.
ลักษณะพิเศษของว่านหางจระเข้ก็คือ มีใบแหลมคล้ายเข็ม เนื้อหนา และเนื้อใบมีน้ำเมือกเหนียว ว่านหางจระเข้ผลิดอกในช่วงฤดูหนาว ดอกจะมีสีต่างๆ กัน เช่น เหลือง ขาว และแดง เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธ์ของมัน
คำว่า “อะโล” (ALOE) เป็นภาษากรีซโบราณ หมายถึง ว่านหางจระเข ซึ่งแผลงมาจากคำว่า “ALLAL” มีความหมายว่า “ฝาดหรือขม” ในภาษายิว ฉะนั้นเมื่อผู้คนได้ยินชื่อนี้ ก็จะทำให้นึกถึงว่านหางจระเข้.
ว่านหางจระเข้เดิมเป็นพืชที่ขึ้นในเขตร้อน ต่อมาได้นำไปแพร่พันธุ์ในยุโรปและเอเชีย และทุกวันนี้ทั่วโลกกำลังเกิดกระแสนิยมว่านหางจระเข้กันเป็นการใหญ่.
การใช้ว่านหางจระเข้บำรุงผิวมีประวัติความเป็นมานับพันปีก่อนคริสต์ศักราช 333 ปี พระเจ้าอเล็กซายเดอร์มหาราชเคยกรีธาทัพไปถึงทวัปอาฟริกา ได้พบว่านหางจระเข้เป็นจำนวนมาก และทรงรับสั่งให้ทำการปลูกขนานใหญ่ เพื่อใช้เป็นยาสำหรับกองทัพขอพระองค์ อีกทั้งนางคลีโอพัตรากเคยใช้น้ำเมือกจากว่านหางจระเข้เป็นยาบำรุงผิว ทำให้พระนางมีผิวพรรณผุดผ่องดังดรุณีแรกรุ่น ตั้งแต่นั้นมา สรรพคุณของว่านหางจระเข้จึงได้เลื่องลือกระฉ่อนไปทั่วโลก
ใน “ตำรายาสมุนไพรของกรีซ”ที่บันทึกเมื่อทศวรรษที่ 70 แห่งคริสต์ศักราช ได้กล่าวไว้ว่า “ว่านหางจระเข้มีสรรพคุณในการบำรุงผิว ช่วยให้นอนหลับสบาย บำรุงกำลัง ช่วยให้เจริญอาหาร” และยังสามารถใช้รักษาโรคกระเพาะลำไส้ โรคตับ อาการหืดหอบ แผลที่อวัยวะเพศ ริดสีดวงทวาร เคล็ดขัดยอกช้ำบวม โรคผิวหนัง หิด โรคโพรงปากอักเสบ เป็นต้น
ตำรายาไทย
ใช้น้ำยางสีเหลืองจากใบเคี่ยวให้แห้ง เรียกว่า ยาดำ พบว่าเนื่องจากมีสารกลุ่มแอนทราควิโนน แต่พันธุ์ที่ปลูกในประเทศไทย มีปริมาณน้ำยางน้อย ไม่อาจใช้ในการผลิตยาดำจึงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ นอกจากนี้ใช้วุ้นสดของใบปิดขมับแก้ปวดหัว การทดลองกับผู้ป่วยพบว่า วุ้นสดใช้รักษาแผลไฟไหม้มีน้ำร้อนลวกแผลไหม้เกรียมจากแสงแดดและการฉายรังสี แผลสดแผลเรื้อรัง ตลอดจนกินเพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ดี
ใช้น้ำยางสีเหลืองจากใบเคี่ยวให้แห้ง เรียกว่า ยาดำ พบว่าเนื่องจากมีสารกลุ่มแอนทราควิโนน แต่พันธุ์ที่ปลูกในประเทศไทย มีปริมาณน้ำยางน้อย ไม่อาจใช้ในการผลิตยาดำจึงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ นอกจากนี้ใช้วุ้นสดของใบปิดขมับแก้ปวดหัว การทดลองกับผู้ป่วยพบว่า วุ้นสดใช้รักษาแผลไฟไหม้มีน้ำร้อนลวกแผลไหม้เกรียมจากแสงแดดและการฉายรังสี แผลสดแผลเรื้อรัง ตลอดจนกินเพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ดี
วิธีใช้
ให้เลือกใช้ใบล่างสุด ล้างน้ำให้สะอาด ปอกเปลือกสีเขียวออก ล้างน้ำยางสีเหลืองออกให้หมด เพราะอาจจะระคายเคืองผิวหนัง และทำให้มีอาการแพ้ได้ ขูดเอาวุ้นใสปิดพอกบริเวณแผล หรือฝานเป็นแผ่นบางปิดแผล พันด้วยผ้าพันแผลที่สะอาด เปลี่ยนวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น จนกว่าแผลจะหาย นอกจากนี้ ยังใช้วุ้นเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางหลายประเภท เช่น แชมพูสระผม สบู่ ครีมกันแดด เป็นต้น สารที่ออกฤทธิ์เป็นกลัยโคโปรตีนชื่อ aloctin A ซึ่งมีฤทธิ์ลดการอักเสบ และเพิ่มการเจริญทดแทนของเนื้อเยื่อที่แผล แต่มีข้อเสีย คือสลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน ไม่ควรทิ้งวุ้นสดไว้เกิน 24 ชั่วโมง
ให้เลือกใช้ใบล่างสุด ล้างน้ำให้สะอาด ปอกเปลือกสีเขียวออก ล้างน้ำยางสีเหลืองออกให้หมด เพราะอาจจะระคายเคืองผิวหนัง และทำให้มีอาการแพ้ได้ ขูดเอาวุ้นใสปิดพอกบริเวณแผล หรือฝานเป็นแผ่นบางปิดแผล พันด้วยผ้าพันแผลที่สะอาด เปลี่ยนวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น จนกว่าแผลจะหาย นอกจากนี้ ยังใช้วุ้นเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางหลายประเภท เช่น แชมพูสระผม สบู่ ครีมกันแดด เป็นต้น สารที่ออกฤทธิ์เป็นกลัยโคโปรตีนชื่อ aloctin A ซึ่งมีฤทธิ์ลดการอักเสบ และเพิ่มการเจริญทดแทนของเนื้อเยื่อที่แผล แต่มีข้อเสีย คือสลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน ไม่ควรทิ้งวุ้นสดไว้เกิน 24 ชั่วโมง
ประโยชน์ของว่านหางจระเข้
- แก้ปวดศีรษะ นำว่านหางจระเข้ตัดให้เป็นแว่นบางๆ เอาปูนแดงทาที่วุ้น แล้วปิดที่ขมับ จะทำให้เย็นหายปวด
- แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ใช้น้ำเมือกจากว่านหางจระเข้รักษา แผลไฟลวก ขนาดรุนแรงที่สุด โดยทาน้ำเมือกที่แผลให้เปียกอยู่เสมอ แผลจะหายรวดเร็วมาก อาการปวดแผลหรือการเกิดแผลเป็นจะมีน้อยมากหรือไม่มีเลย
- ผิวไหม้เพราะถูกแดดเผา ใช้วุ้นหางจระข้ทาบ่อยๆ ช่วยลด อาการปวดแสบปวดร้อน ผิวตึง และลดจำนวนผิวที่ลอก
- แผลจากของมีคมและแผลอื่นๆ ทำความสะอาดแผลเสียก่อน แล้วเอาวุ้นปิดลงที่แผลให้สนิท เอาผ้าปิดไว้ แล้วหยอดน้ำเมือกลงไปให้ผ้าตรงบริเวณที่แผลเปียกอยู่เสมอ ช่วยให้แผลหายเร็ว และลดรอยแผลเป็น
- กระเพาะลำไส้อักเสบ รับประทานวุ้นหางจระเข้ ๑-๒ ช้อนโต๊ะ วันละหลายๆ ครั้ง ใช้ได้ผลในรายที่ลำไส้ใหญ่อักเสบ หรืออวัยวะอื่น ในทางเดินอาหารเกิดการอักเสบ
- บำรุงผมและหนังศีรษะ ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ ชโลมผมให้ทั่ว ทิ้งไว้ให้แห้ง รุ่งเช้าจึงใช้น้ำล้างออก ทำให้ผมดกดำเป็นเงางาม หวีง่ายขึ้น และรักษาแผลบนหนังศีรษะ ( ก่อนใช้ควรทดลองก่อนว่า แพ้ว่าน หรือไม่ และควรใช้แต่น้อยดูก่อน ที่สำคัญอย่าให้ยางถูกผมเพระายางจะ กัดหนังหัว)
- ป้องกันการติดเชื้อ ใช้วุ้นหางจระเข้ ทาแผลรักษาแผลติดเชื้อได้ ทำให้แผลดีขึ้น ภายใน ๑๒ ชั่วโมง
- ผื่นคันที่เกิดจากการแพ้สารต่างๆ เนื่องจากวุ้นหางจระข้จะมีฤทธิ์ระงับปวด จึงช่วยลดอาการคันด้วย และยังช่วยให้ผื่นคันหายเร็ว
- ขี้เรือนกวาง และผื่นปวดแสบปวดร้อน ใช้วุ้นหางจระเข้ กินวันละ ๑-๒ ครั้งๆ ละ ๑-๒ ช้อนโต๊ะ และทาควบคู่กันไป ว่านหางจระเข้ เป็นยาฝาดสมาน อาจทำให้ผิวแห้งได้ จึงควรผสมน้ำมันทาผิว หรือ น้ำมันอย่างอื่นควบคู่ไปด้วย
- ลบรอยแผลเป็น ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ทา เช้า-เย็น จะลดรอย แผลเป็น
- ลบท้องลายหลังคลอด ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ทาผิวท้อง ขณะตั้ง ครรภ์ แม้หลังคลอดแล้วก็ควรใช้ทาต่อเพื่อช่วยให้ผิวหน้าท้องกลับคืนสู่ สภาพปกติ คนที่เคยใช้ยืนยันว่าได้ผลดี
- เส้นเลือดดำขอดที่ขา ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ ทาที่บริเวณเส้นเลือด ดำขอด และมีบางคนใช้ได้ผลดีมาก
- มะเร็งที่ผิวหนัง ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ ทาวันละ ๒-๔ ครั้ง เป็นเวลาหลายเดือน
- แผลครูดและแผลถลอก ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ทาเบาๆ ให้ทั่วใน ๒๔ ชั่วโมงแรก ทาบ่อยๆ แผลจะไม่ค่อยเจ็บและหายเร็วมาก
- โรคปวดตามข้อ รับประทานวุ้นว่านหางจระเข้ เป็นประจำจะหาย ปวดได้
สรรพคุณว่านหางจระเข้
ว่านหางจระเข้นั้น จัดเป็นพืชที่มีสรรพคุณต่าง ๆ มากมาย สามารถใช้บรรเทาโรคทั้งภายนอกและภายในร่างกาย อีกทั้งยังใช้บำรุงผิวพรรณได้อีกด้วย ดังนี้
ว่านหางจระเข้นั้น จัดเป็นพืชที่มีสรรพคุณต่าง ๆ มากมาย สามารถใช้บรรเทาโรคทั้งภายนอกและภายในร่างกาย อีกทั้งยังใช้บำรุงผิวพรรณได้อีกด้วย ดังนี้
ประโยชน์ภายนอก
- รักษาแผลไฟไหม้และน้ำร้อนลวก โดยปอกเปลือกนอก นำวุ้นสดภายในใบไปล้างยางออกให้สะอาด แล้วนำไปประคบแผลตลอด 2 วันแรก จะช่วยบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน สมานแผลให้เร็วขึ้น และไม่ทิ้งร่องรอยแผลเป็นอีกด้วย
- ป้องกันและบรรเทารอยไหม้จากการออกแดด นำใบสด ๆ ของว่านหางจระเข้ผสมกับโลชั่นทาลงบนผิวหนังก่อนออกแดด จะช่วยป้องกันแสงแดดได้ แต่ถ้าหากเกิดรอยไหม้ขึ้นบนผิวหนังหลังออกแดดแล้ว ให้ใช้วุ้นที่ล้างสะอาดมาทาเพื่อลดอาการอักเสบ ถ้าจะให้ดีลองผสมกับน้ำมันพืช หรือ น้ำมันมะกอก เพื่อลดอาการผิวแห้งตึงจนเกินไป
- บรรเทารอยไหม้จากการฉายรังสีของผู้ป่วย โดยใช้วิธีการนำวุ้นว่านหางจระเข้ที่ล้างสะอาดมาประคบที่รอยไหม้จากการทำคีโม จะช่วยบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน และทำให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น
- สมานแผลจากของมีคมและแผลถลอก หากได้รับบาดเจ็บจากของมีคม ใช้วุ้นจากว่านหางจระเข้ที่ยังมีเมือกอยู่ แปะลงไปบนแผล จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสมานแผลให้เร็วขึ้นได้
- รักษาฝีและโรคริดสีดวงทวาร ทำความสะอาดบริเวณที่เกิดโรคให้แห้งแล้ว นำวุ้นไปแปะลงบนแผล หากเป็นทวารหนักให้ปอกวุ้นให้เป็นแท่งแล้วล้างให้สะอาด นำไปแช่เย็นให้แข็ง เพื่อสอดเหน็บในช่องทวารหนักวันละ 1-2 ครั้ง อาการริดสีดวงจะดีขึ้น
- รักษาตาปลาและฮ่องกงฟุต นำเนื้อวุ้นที่ล้างทำความสะอาดแล้ว ไปแปะลงบริเวณที่เกิดโรค หมั่นเปลี่ยนเนื้อวุ้นบ่อย ๆ โดยหากเป็นตาปลาส่วนที่แห้งลงจะเกิดรูบุ๋มขึ้น ให้ใช้ว่านหางจระเข้ประคบต่อไปจนกว่ารอยบุ๋มจะสมานและเล็กลง ส่วนฮ่องกงฟุตให้ด้วยว่านหางจระเข้เอาไว้จนกว่าแผลจะแห้งลงและอาการดีขึ้น
- แก้ปวดศีรษะ ตัดใบสดจากต้นว่านหางจระเข้ แล้วนำปูนแดงทาบริเวณวุ้น ถือใบสดแล้วนำวุ้นผสมปูนแดงประคบบริเวณขมับหรือท้ายทอย ตามจุดที่ปวด จะช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะได้
- บรรเทาอาการปวดฟัน ตัดเนื้อว่านหางจระเข้ออกเป็นแท่งเล็ก ๆ ประมาณ 2-3 เซ็นติเมตร นำไปเหน็บไว้ตามซอกฟันที่มีอาการปวด หรือประคบไว้ก็ได้ ใช้เวลาประมาณ 30 นาที อาการปวดจะค่อย ๆ บรรเทาลง
ประโยชน์ภายใน
- บรรเทาอาการปวดข้อ นำวุ้นว่านหางจระเข้ที่ล้างทำความสะอาดแล้วไปแช่ตู้เย็น และรับประทานเพื่อบรรเทาอาการปวดตามข้อต่าง ๆ โดยสามารถใช้ได้ทั้งเนื้อวุ้น และน้ำวุ้น หากอยากให้รับประทานง่ายขึ้น สามารถนำไปปั่นเป็นน้ำว่านหางจระเข้ ก็ช่วยบรรเทาอาการได้เช่นกัน
- ใช้เป็นยาถ่าย โดยเลือกตัดว่านหางจระเข้พันธุ์เฉพาะที่ใบใหญ่และมีน้ำยางสีเหลืองในปริมาณมาก อายุประมาณ 9 เดือนขึ้นไป รองน้ำยางที่ไหลออกมาจากใบ แล้วนำไปเคี่ยวให้ข้น เทลงในพิมพ์ขนาดเล็กให้แข็งเป็นก้อนรับประทานเป็นยาได้ ซึ่งเม็ดยาจะมีสีแดงอมน้ำตาลไปจนถึงดำ เรียกว่า ยาดำ แบ่งรับประทานครั้งละประมาณ 0.25 กรัม (250 มิลลิกรัม) จะเป็นขนาดที่เหมาะสมในการใช้เป็นยาถ่าย หากต้องการรับประทานแบบสด ๆ ก็สามารถทำได้ โดยการตัดวุ้นที่ล้างสะอาดแล้วออกเป็นขนาด 3-4 เซ็นติเมตร แบ่งรับประทานวันละ 3 ครั้งหลังอาหาร
- แก้กระเพาะอักเสบและลำไส้อักเสบ ปอกเปลือกว่านหางจระเข้ นำวุ้นที่ได้ไปล้างให้สะอาด แล้วนำมารับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 2 ครั้ง จะช่วยบรรเทาอาการอักเสบของทางเดินอาหารได้
- ป้องกันโรคเบาหวาน ตัดเนื้อว่านหางจระเข้ความยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร นำไปรับประทานทุกวัน หรือจะปั่นเป็นน้ำว่านหางจระเข้ เพื่อรับประทานก็ได้ โดยอาการเบาหวานจะทุเลาลงสำหรับผู้ที่เป็นในระยะแรก ส่วนผู้ที่ต้องการรับประทานเพื่อป้องกัน สามารถรับประทานในปริมาณที่น้อยลงได้
- แก้และป้องกันอาการเมารถเมาเรือ ท่านที่มีปัญหาในการเดินทาง เกิดอาการเมารถเมาเรืออยู่เป็นประจำ ให้ลองรับประทานเนื้อวุ้นจากว่านหางจระเข้ หรือน้ำว่านหางจระเข้ ก่อนออกเดินทางจะช่วยบรรเทาให้เกิดอาการดังกล่าวน้อยลงได้ แต่หากเกิดอาการเมารถเมาเรือขึ้นแล้ว ลองทานน้ำว่านหางจระเข้เย็น ๆ ให้ชื่นใจ แล้วนั่งพักสักครู่ จะรู้สึกดีขึ้น
ประโยชน์ด้านความงาม
- บำรุงเส้นผมให้เงางามและช่วยขจัดรังแค ตัดใบสดมาทาลงบนเส้นผม หรือถ้าไม่สะดวกให้นำวุ้นว่านหางจระเข้ไปปั่นให้ละเอียดจะได้ใช้ง่ายขึ้น จากนั้นนำมาชโลมผมให้ทั่วเพื่อให้ผมสลวยเงางาม หากนวดบริเวณรากผมจะช่วยให้รากผมเย็นลง ช่วยบำรุงหนังศีรษะ รักษาแผลบนศีรษะ และขจัดรังแคได้ด้วย
- รักษาสิวและรอยด่างดำ ประโยชน์ข้อนี้คนที่อยากหน้าใสตั้งใจอ่านให้ดี เพราะว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการติดเชื้อ และมีกรดอ่อน ๆ ช่วยลดความมันบนใบหน้าได้ นำเนื้อวุ้นที่ล้างสะอาดทาบริเวณใบหน้าวันละ 2 ครั้ง ใช้เวลาสัก 1-2 เดือน จะเริ่มเห็นผลว่ารอยต่าง ๆ ดูจางลง
- บำรุงผิวกาย เพียงแค่นำว่านหางจระเข้สด มาปอกเปลือกและล้างให้สะอาด จากนั้นหั่นเป็นชิ้นนำไปใส่ไว้ในถุงผ้ากอซขนาดเล็ก แล้วนำไปหย่อนไว้ในอ่างอาบน้ำ หรือถ้าไม่มีถุงผ้ากอซ ให้นำวุ้นไปแช่ไว้ในอ่างอาบน้ำเลยก็ได้เหมือนกัน โดยระหว่างอาบน้ำให้ใช้เนื้อวุ้นถูกตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เน้นที่รอยแห้งกร้านอย่างข้อศอก หัวเข่า ส้นเท้า เป็นต้น จะช่วยให้ผิวพรรณเนียนนุ่ม และเต่งตึงขึ้น
- เติมน้ำให้ผิว ความชุ่มชื้นในผิวหน้าและผิวกาย มักจะค่อย ๆ ลดลงตามวัย และไลฟ์สไตล์ของคุณ ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักใช้ชีวิตกันอยู่ในห้องแอร์จนผิวขาดความชุ่มชื้น หากนำเนื้อวุ้นจากว่านหางจระเข้มาพอกหน้าก็เป็นอีกวิธีที่จะช่วยเติมน้ำให้ผิวของคุณได้ โดยล้างวุ้นให้สะอาด แล้วฝานบาง ๆ มาโปะให้ทั่วหน้า หลับตาพริ้มรอสัก 15 นาที ก็ไปล้างหน้าให้สะอาดได้ ผิวของคุณจะรู้สึกชุ่มชื้น เต่งตึงขึ้น หากจะใช้กับผิวกายให้ลองนำเนื้อไปปั่นหยาบ ๆ แล้วนำมาพอกตัว ก็ใช้ง่ายดีเหมือนกัน
ว่านหางจระเข้ สมุนไพรพื้นบ้านของไทยเรามีสรรพคุณที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่งในการรักษาสิวอักเสบ เนื่องจากว่าว่านหางจระเข้มีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียและสมานแผลที่เกิดจากสิวอักเสบ ทำให้สิวอักเสบยุบได้อย่างรวดเร็ว วันนี้ทางทีมงานจึงอยากจะแนะนำสูตรการรักษาสิวอักเสบด้วยว่านหางจระเข้ เรามาดูวิธีทำกันเลยครับ
ก่อนอื่นนำว่านหางจระเข้ไปแช่น้ำ ทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที เพื่อให้ยางสีเหลืองๆ ออกมา จากนั้นนำไปปอกเปลือกออกให้เหลือไว้แต่วุ้นใสๆ นำไปล้างเอายางเหลืองๆ ออกให้หมด จากนั้นนำไปหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ บางๆ หรือบดให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำมาใช้
วิธีใช้: ทำไปทาบริเวณที่เป็นสิวอักเสบวันละ 1-2 ครั้ง สิวอักเสบก็จะยุบและแห้งเร็วขึ้น
ปลูกว่านหางจระเข้
ถึงแม้ว่านหางจระเข้เป็นต้นไม้ทนแล้งตายยากก็จริง แต่การปลูกให้งามนั้นออกจะเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับต้นไม้ ดังนั้นท่านที่มือใหม่ควรจะมีความรู้เหล่านี้ก่อนปลูก เพื่อที่จะได้ต้นวว่านงอกงามสมใจ
ถึงแม้ว่านหางจระเข้เป็นต้นไม้ทนแล้งตายยากก็จริง แต่การปลูกให้งามนั้นออกจะเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับต้นไม้ ดังนั้นท่านที่มือใหม่ควรจะมีความรู้เหล่านี้ก่อนปลูก เพื่อที่จะได้ต้นวว่านงอกงามสมใจ
การเตรียมดิน
ว่านหางจระเข้ชอบดินร่วนซุย ถ้าดินเหนียวมากให้ผสมใบไม้แห้งผุ และทรายลงไป ดินควรใส่ปุ๋ยด้วย ให้ใช้คอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ กทม. ๒ ไม้ต้องใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์
ก่อนนำดินมาผสมต้องย่อยดินเป็นก่อนเล็กที่สุดเสียก่อน เอาดินมา ๓ ส่วน ผสมใบไม้แห้งผุที่ย่อยเป็นชิ้นเล็กๆ ๒ ส่วน ผสมปุ๋ย ๑ ส่วน ผสมทราย ๐.๕ ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน จะได้ดินร่วนซุยที่เหมาะกับว่านหางจระเข้
ว่านหางจระเข้ชอบดินร่วนซุย ถ้าดินเหนียวมากให้ผสมใบไม้แห้งผุ และทรายลงไป ดินควรใส่ปุ๋ยด้วย ให้ใช้คอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ กทม. ๒ ไม้ต้องใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์
ก่อนนำดินมาผสมต้องย่อยดินเป็นก่อนเล็กที่สุดเสียก่อน เอาดินมา ๓ ส่วน ผสมใบไม้แห้งผุที่ย่อยเป็นชิ้นเล็กๆ ๒ ส่วน ผสมปุ๋ย ๑ ส่วน ผสมทราย ๐.๕ ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน จะได้ดินร่วนซุยที่เหมาะกับว่านหางจระเข้
ปลูกลงดินหรือปลูกในกระถางดี
ว่านหางจระเข้ปลูกในกระถางก็งามได้ มีข้อแม้ว่าต้องเป็นกระถางทรงลึกและใบใหญ่ ขนาดปากกว้าง ๑ ฟุตขึ้นไป แต่ถ้าปลูกลงดินจะโตได้เร็วกว่า
ว่านหางจระเข้ปลูกในกระถางก็งามได้ มีข้อแม้ว่าต้องเป็นกระถางทรงลึกและใบใหญ่ ขนาดปากกว้าง ๑ ฟุตขึ้นไป แต่ถ้าปลูกลงดินจะโตได้เร็วกว่า
สถานที่ปลูก
แสงแดด
ว่านหางจระเข้ไม้ชอบแดดจัด ควรให้ว่านได้ถูกแดดตั้งแต่ตอนเช้าถึงสิบเอ็ดโมงเช้า และได้ร่มตั้งแต่นั้นจนถึงเย็น หรือปลูกในที่ร่มรำไรตลอดวันก็ได้ แต่ระวังอย่าให้ถูกแดดตอนเที่ยงและตอนบ่าย
ระดับพื้นที่
บริเวณที่ปลูกว่านหางจระเข้ไม่ควรเป็นพื้นที่ต่ำกว่าบริเวณที่อยู่รอบๆ ควรสูงกว่าหรืออย่างน้อยก็เสมือนบริเวณที่อยู่รอบๆ เพราะว่านหางจระเข้ไม่ชอบบริเวณพื้นที่มีน้ำขัง ชอบดินที่ระบายน้ำดี
น้ำค้าง
ไม่ควรปลูกใต้ชายคาหรือบริเวณที่น้ำค้างลงไม่ถึง
แสงแดด
ว่านหางจระเข้ไม้ชอบแดดจัด ควรให้ว่านได้ถูกแดดตั้งแต่ตอนเช้าถึงสิบเอ็ดโมงเช้า และได้ร่มตั้งแต่นั้นจนถึงเย็น หรือปลูกในที่ร่มรำไรตลอดวันก็ได้ แต่ระวังอย่าให้ถูกแดดตอนเที่ยงและตอนบ่าย
ระดับพื้นที่
บริเวณที่ปลูกว่านหางจระเข้ไม่ควรเป็นพื้นที่ต่ำกว่าบริเวณที่อยู่รอบๆ ควรสูงกว่าหรืออย่างน้อยก็เสมือนบริเวณที่อยู่รอบๆ เพราะว่านหางจระเข้ไม่ชอบบริเวณพื้นที่มีน้ำขัง ชอบดินที่ระบายน้ำดี
น้ำค้าง
ไม่ควรปลูกใต้ชายคาหรือบริเวณที่น้ำค้างลงไม่ถึง
การเลือกต้นปลูก
ต้นว่านหางจระเข้ยิ่งโตยิ่งปลูกง่าย ถ้าต้นเล็กเกินไปจะปลูกยาก ต้นที่นำมาปลูกได้ควรมีใบที่ยาวที่สุดประมาณ ๑ ฝ่ามือขึ้นไปหรือมีใบ ๘–๑๐ ใบแล้ว
ต้นว่านหางจระเข้ยิ่งโตยิ่งปลูกง่าย ถ้าต้นเล็กเกินไปจะปลูกยาก ต้นที่นำมาปลูกได้ควรมีใบที่ยาวที่สุดประมาณ ๑ ฝ่ามือขึ้นไปหรือมีใบ ๘–๑๐ ใบแล้ว
วิธีดูและรักษาว่านหางจระเข้
การลงดินหรือลงกระถาง
ถ้าต้นว่านหางจระเข้มีลำต้นยาวมาก ควรตัดลำต้นให้สั้นลงให้เหลือลำตันเพียง 2 – 3 นิ้ว ลำต้นที่ ถูกตัดนี้จะงอกรากใหม่อย่างรวดเร็ว
การลงดินอย่าลงลึกไปหรือตื้นไป คืออย่าลึกจนเวลาลดน้ำดินไปกลบยอดได้ หรืออย่าตื้นจนต้นโยกเยกเวลารดน้ำ
การลงดินหรือลงกระถาง
ถ้าต้นว่านหางจระเข้มีลำต้นยาวมาก ควรตัดลำต้นให้สั้นลงให้เหลือลำตันเพียง 2 – 3 นิ้ว ลำต้นที่ ถูกตัดนี้จะงอกรากใหม่อย่างรวดเร็ว
การลงดินอย่าลงลึกไปหรือตื้นไป คืออย่าลึกจนเวลาลดน้ำดินไปกลบยอดได้ หรืออย่าตื้นจนต้นโยกเยกเวลารดน้ำ
การรดน้ำ
หน้าฝนไม่จำเป็นต้องรดน้ำ ถ้าหน้าแล้งควรลดวันละ 1 – 2 ครั้ง ให้ดินชุ่มชื้ออยู่เสมอ แต่ต้องระวังอย่ารดจนดินแฉะเกินไป
หน้าฝนไม่จำเป็นต้องรดน้ำ ถ้าหน้าแล้งควรลดวันละ 1 – 2 ครั้ง ให้ดินชุ่มชื้ออยู่เสมอ แต่ต้องระวังอย่ารดจนดินแฉะเกินไป
ฤดูปลูก
ควรปลุกใต้ฤดูฝน คือ ในดินพฤษภาคมหรือเดือนมิถุนายน ต้นว่านหางจระเข้จะโตเร็วและไม่ต้องเสียเวลารดน้ำมาก
ในหน้าแล้งก็ปลูกได้แต่ต้องหมั่นรดน้ำในดินชุ่มชื้นอยู่เสมอ ซึ่งเสียเวลารดน้ำมากและต้นว่านหางจระเข้โตเร็วไม่เท่าฤดูฝน
ควรปลุกใต้ฤดูฝน คือ ในดินพฤษภาคมหรือเดือนมิถุนายน ต้นว่านหางจระเข้จะโตเร็วและไม่ต้องเสียเวลารดน้ำมาก
ในหน้าแล้งก็ปลูกได้แต่ต้องหมั่นรดน้ำในดินชุ่มชื้นอยู่เสมอ ซึ่งเสียเวลารดน้ำมากและต้นว่านหางจระเข้โตเร็วไม่เท่าฤดูฝน
การบำรุงรักษา
- หมั่นพรวนดิน เนื่องจากว่านหางจระเข้ชอบดินร่วน ดังนั้นถ้าหากเห็นว่าดินเริ่มแข็งจับเป็นก้อนน้ำซึมผ่านไม่ดี หรือมีน้ำขังให้พรวนดินให้ร่วน
- คอยกลบโคนต้น เมื่อต้นว่าหางจระเข้โตขึ้นเรื่อย ๆ จะมีลำต้นยืดยาวขึ้นมาเหนือพื้นดินให้คอยเอา ดินกลบต้นเสมอกลบจนดินอยู่ตืดชิดกับใบล่างสุด
- ถอนต้นเล็ก ๆ ทิ้ง ว่านหางจระเข้แตกต้นใหม่ได้เร็วมากจึงต้องหมั่นถอนต้นใหม่ทิ้งเสมอเพราะ ต้นใหม่จะแย่งอาหารจากต้นแม่แต่อย่าถอนหมด เหลือไว้ขยายพันธุ์บ้าง
- ใส่ปุ๋ยปีละ1-2ครั้ง
- เปลี่ยนกระถางหรือปลูกใหม่ ถ้าปลูกในกระถางเมื่อครบปีแล้วควรเปลี่ยนดินใหม่ ต้นว่านหางจระเข้ที่ปลูกลงดิน ถ้าลำต้นอยู่พ้นจากดินมากไป ก็ตัดให้ลำต้นเหลือสั้นลงแล้วปลูกใหม่ ลำต้นที่ถูกตัดจะงอกรากใหม่
การขยายพันธุ์ว่านหางจระเข้
การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์
- ต้นใหม่ที่งอกจากต้นแม่จะโตเร็วกว่าต้นใหม่ที่แยกมาปลูกต่างหาก ดังนั้นจึงควรจะค่อยให้ต้นใหม่โตมากๆ เสียก่อนจึงค่อยแยกปลูกต้นแม่หนึ่งต้น
- ควรเก็บพันธุ์ไม่เกิดสองต้น เพราะถ้ามีลูกมากไป ลูกจะแย้งอาหารกันเองทำให้โตช้า
- ลูกว่านหางจระเข้ที่เก็บไว้ขยายพันธุ์ไม่ควรปลูกอยู่ใกล้กัน ควรจะอยู่ตรงข้ามกัน
ลักษณะต้นไม้ที่เลี้ยงดูไม่ดี
- ใบเน่าและลำต้นเน่า แสดงว่าน้ำขังมากหรือปุ๋ยมากเกิดไป
- ใบแบนราบลงแสดงว่ารากเริ่มเน่าหรือต้นมีรากน้อยเกินไป
- บออกสีน้ำตาลอมแดงเป็นเพราะถูกแดดมากเกินไป
- โตช้าเพราะขาดปุ๋ยดินแข็งไม่ร่วน ขาดน้ำค้าง ถูกต้นไม้อื่นแย่งอาหารถูกแดดมากเกินไปและขาดน้ำ
ศัตรูพืช
ว่านหางจระเข้มีศัตรูน้อยมาก เช่นกัน เท่าที่เคยพบมี
ว่านหางจระเข้มีศัตรูน้อยมาก เช่นกัน เท่าที่เคยพบมี
- เพลี้ยกินใบ ทำให้ใบมีจุดขาว
- หอยทาก ใบว่านหางจระเข้ที่หอยทากกินจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเหมือนถูกไฟเผา
การตัดมาใช้
เมื่อจะตัดใบจากลำต้นไหนก็ควรจะตัดต้นนั้นต้นเดียวไปเลื่อยๆ จนหมดแล้วจึงตัดต้นใหม่ไม่ควรตัดต้นนั้นทีต้นนี้ทีเพราะว่านหางจระเข้ที่ถูกตัดไปจะโตช้าและทำให้ลำต้นยืดยาวพ้นดินมากเกินไปทำให้ต้นว่านล้มได้ การตัดควรตัดใบล่างสุดก่อนเพราะเป็นใบแก่ที่สุดมีสรรพคุณดีที่สุด
เมื่อจะตัดใบจากลำต้นไหนก็ควรจะตัดต้นนั้นต้นเดียวไปเลื่อยๆ จนหมดแล้วจึงตัดต้นใหม่ไม่ควรตัดต้นนั้นทีต้นนี้ทีเพราะว่านหางจระเข้ที่ถูกตัดไปจะโตช้าและทำให้ลำต้นยืดยาวพ้นดินมากเกินไปทำให้ต้นว่านล้มได้ การตัดควรตัดใบล่างสุดก่อนเพราะเป็นใบแก่ที่สุดมีสรรพคุณดีที่สุด
แหล่งอ้างอิง :
No comments:
Post a Comment