Friday, January 3, 2014

จุดประสงค์ของบล็อกนี้ :)

 บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลต้นไม้ในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รวบรวมข้อมูลชื่อวิทยาศาสตร์ ลักษณะทั่วไป คุณประโยชน์ของพืชต่างๆ คณะผู้จัดทำหวังว่า บล็อกนี้จะให้ความรู้ ให้ประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการศึกษาด้านพฤกษศาสตร์
               หมายเหตุ : บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการบูรณาการวิชาภาษาไทยและสวนพฤกษศาสตร์
          โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา บล็อกนี้ไม่เกี่ยวข้องกับชมรมสวนพฤกษศาสตร์หรือคณะกรรมการ
           พฤกษศาสตร์โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
                                                                                           

                                                                                         คณะผู้จัดทำ
                                                             นายชนาธิป ภูบุญทอง ม.5 ห้อง 321 เลขที่ 31
                                                               นายชวิศ. เสรีสุทธิกูลชัย. ห้อง321 เลขที่ 32
                                                             นายนันท์นที ธรรมเทิดไท ม.5 ห้อง 331 เลขที่37
                                                               นายพีรกานต์ จิตรภักดี ม.5 ห้อง 321 เลขที่ 39
                                                             นายวริทธิ์ธร กิตติตระกูล ม.5 ห้อง 321 เลขที่ 42
                                                         นายสุวิจักขณ์  สินตระกูลชัย  ม.5 ห้อง 321 เลขที่ 43

สวนพฤกษศาสตร์ What is it??

  สวนพฤกษศาสตร์ เป็นสถาบันทางวิชาการที่เป็นแหล่งรวบรวมพรรณพืชต่างๆ เอาไว้เพื่อทำการอนุรักษ์ ศึกษา วิจัยทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะทางด้านพฤกษศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ว่าด้วยพืช โดยมากจะมีการปลูกรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ ตามแต่ละนโยบาย ลักษณะพื้นที่ และงบประมาณของสวนพฤกษศาสตร์นั้นๆ เช่น สวนกล้วยไม้ สวนสมุนไพร สวนพืชให้สี สวนพืชมีพิษ หรือ ตามการจัดจำแนกพืชเป็นวงศ์ต่างๆ เช่น วงศ์ปาล์ม วงศ์ขิงข่า เป็นต้น โดยสวนพฤกษศาสตร์ที่มีมาตรฐานจะมีองค์ประกอบที่สำคัญ เช่น แปลงรวบรวมพรรณพืช ห้องสมุด หอพรรณไม้ ห้องปฏิบัติการ นอกจากงานด้านอนุรักษ์พืชแล้ว ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพืชสำหรับการศึกษาของนักวิจัย นักเรียนนักศึกษา หรือตอบสนองต่อการเป็นแหล่งท่องเที่ยวและสถานพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งแนวโน้มในปัจจุบันสวนพฤกษศาสตร์จะต้องตอบสนองต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ เช่น การเป็นแหล่งพันธุกรรมให้แก่ชุมชนในท้องถิ่น

ต้นไม้บริเวณต่างๆในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

ตึกศิลปะ
 1.จามจุรี                             
 2.นนทรี                              
 3.ชมพูพันธุ์ทิพย์                 
 4.ประดู่บ้าน                          
 5.อินทนิลน้ำ                        
 6.พญาสัตบรรณ                     
 7.เสลา                             
 8.ปาล์มขวด                   
 9.หมากนวล                     
10.โมก 
11.มะพร้าว
12.ลั่นทมดอกขาว
13.พระศรีมหาโพธิ์
14.อโศกเซนคาเบรียล
15.ราชพฤกษ์
16.มะม่วง
17.ปาล์มพัด
18.ตะโกดัด
19.ยูคาลิปตัส
20.แก้ว                          

   ตึก1
 1.หูกวาง                                
 2.ลั่นทมขาว                            
 3.อโศกเซนคาเบรียล              
 4.แก้ว                                
 5.สัก                              
 6.ปาล์มหางสุนัขจิ้งจอก         
 7.หมากเขียว                     
 8.เข็มขาว                            
 9.ตะลิงปลิง
10.นนทรี
11.ประดู่บ้าน
12.ราชพฤกษ์
13.จำปี
14.กันเกรา
15.หมากนวล
16.จันทน์ผา
17.วาสนา

   ตึก2
 1.จามจุรี                             
 2.นนทรี                                 
 3.ชมพูพันธุ์ทิพย์                        
 4.พิกุล                                   
 5.พระศรีมหาโพธิ์                         
 6.อโศกเซนคาเบรียล                 
 7.อินทนิลน้ำ                            
 8.มะม่วง                               
 9.ประดู่ป่า                               
10.กระดังงาไทย                         
11.ตะแบก
12.หูกวาง
13.ประดู่แดง
14.ทองกวาว
15.กระทิง
16.ประดู่บ้าน
17.มะขาม
18.แคฝรั่ง
19.สัก
20.มะฮอกกานี
21.แสงจันทร์

   ตึก3
 1.จามจุรี                                  
 2.นนทรี                                 
 3.ชมพูพันธุ์ทิพย์                       
 4.อโศกเซนคาเบรียล                    
 5.ปีบ                                   
 6.สัก                                 
 7.สนประดิพัทธ์                     
 8.ซองออฟจาไมก้า              
 9.ปรงเขา                             
10.ตะลิงปลิง
11.หูกวาง
12.สนฉัตร
13.ประดู่บ้าน
14.โพธิ์ขี้นก
15.พญาสัตบรรณ
16.โมก
17.ข่อย
18.ประทัดจีน
19.ปาล์มแชมเปญ

   หอประชุม
1.นนทรี                              
2.ประดู่บ้าน                       
3.มะฮอกกานี                    
4.ตะโกนา                             
5.ชมพูพันธุ์ทิพย์
6.แก้ว
7.ปาล์มขวยด
8.จามจุรีสีทอง

   ห้องสมุด
 1.นนทรี                                 
 2.โพธิ์ขี้นก                            
 3.เสลา                        
 4.ลั่นทมดอกแดง                  
 5.เข็มเศรษฐี                         
 6.หมากคอนวล(หมากนวล)      
 7.ชาฮกเกี๊ยน(ชาดัด)                 
 8.แสงจันทร์                      
 9.สนฉัตร
10.มะขาม
11.ทองหลางหลาย(ปาริชาด)
12.ประดู่บ้าน
13.หมากเขียว
14.เฟื่องฟ้า
15.ข่อย
16.พุทธรักษา

   สนามฟุตบอล
1.สนประดิทพัทธ์                        
2.ประดู่บ้าน                           
3.ชมพูพันธุ์ทิพย์
4.อโศกเซนคาเบรียล
5.กระทุ่มหูกวาง

   ตึกวิทยาศาสตร์
 1.สนฉัตร                           
 2.พิกุล                                
 3.แคฝรั่ง                         
 4.ตะลิงปลิง                      
 5.ยูคาลิปตัส                      
 6.หมากเขียว                    
 7.ซองออฟจาไมก้า           
 8.ยอบ้าน                       
 9.ทองกวาว
10.อโศกเซนคาเบรียล
11.โมกบ้าน
12.ไผ่ฟิลิปปินส์
13.จันทน์ผา
14.หมากคอนว
15.วาสนา
16.เล็บครุฑจาน

   ตึก8
1.ประดู่บ้าน                           
2.ตะลิงปลิง                     
3.วาสนา                            
4.ชมพูพันธุ์ทิพย์
5.อินทนิล
6.ข่อย

   ตึก9
 1.ชมพูพันธุ์ทิพย์                         
 2.มะขาม                                
 3.ราชพฤกษ์                          
 4.กระทุ่มหูกวาง                     
 5.สาละลังกา                          
 6.หมากนวล
 7.โพธิ์ขี้นก
 8.อินทนิล
 9.พญาสัตบรรณ
10.โมก
11.ตะลิงปลิง
12.ชงโค

   ตึกคุณหญิงหรั่ง กันตารัติ
 1.จามจุรี                            
 2.ลั่นทมดอกขาว                  
 3.หมากแดง                       
 4.ชวนชม                        
 5.โมกบ้าน
 6.ชมพูพันธุ์ทิพย์
 7.ประดู่บ้าน
 8.ยางอินเดีย
 9.หมากเขียว                         
10.ต้นกาบหอยแครง

   ตึก 55 ปี
 1.หูกวาง                                   
 2.ชมพูพันธุ์ทิพย์                               
 3.กระทิง                                     
 4.ราชพฤกษ์                                 
 5.โมกบ้าน                              
 6.ฝรั่ง                                  
 7.ซองออฟจาไมก้า              
 8.หมากนวล                     
 9.จันทน์ผา                             
10.ไผ่น้ำเต้า
11.ลั่มทม
12.พิกุล
13.ปีบ
14.พญาสัตบรรณ
15.ตะลิงปลิง
16.ลั่นทมดอกแดง
17.ข่อย
18.สนฉัตร
19.หมากผู้หมากเมีย

   ตึก 60 ปี
 1.ประดู่                                                      
 2.ชมพูพันธุ์ทิพย์                        
 3.มะฮอกกานีใบเล็ก                    
 4.ไทรใบแหลม                           
 5.ปีบ                               
 6.ลั่นทมขาว                         
 7.หางนกยูงฝรั่ง
 8.มาฮอกกานี
 9.พญาสัตบรรณ
10.พิกุล
11.อ้อยช้าง
12.ต้นบุนนาค
13.ทองกวาว
14.ตีนเป็ด

   หลังตึก 60 ปี
 1.ต้นลีลาวดี                       
 2.ต้นว่านหางจระเข้                 
 3.ต้นมะตูม                          
 4.ต้นชำมะเลียง                     
 5.ต้นโคคลาน                    
 6.ต้นจิกนมยาน                  
 7.ต้นสารพัดพิษ                 
 8.ต้นม้ากระทืบโรง              
 9.ชะมวง                            
10.กะท้อ                          
11.หางไหลแดง               
12.ไพล                          
13.ขมิ้นชัน                   
14.เปล้าใหญ่                      
15.พุดซ้อน                                  
16.ข่า                                                    
17.ชุมเห็ดเทศ                                      
18.หญ้าหนวดแมว            
19.อบเชยญวน                     
20.กุหลาบวาเลนไทน์           
21.ลิ้นงูเห่า               
22.โนรา                       
23.ทับทิม                                   
24.มะกรูด                   
25.แคบ้าน                                     
26.ตะลิงปลิง                                     
27.หมาก                     
28.ขนุน                       
29.มะยม                    
30.พลู                           
31.ขจร                      
32.หญ้าปักกิ่ง                                   
33.ทองพันชั่ง                
34.เถาเอ็นอ่อน
35.ต้นชบา
36.ต้นนมแมว
37.ต้นบัวสวรรค์
38.ต้นตาลหม่อน
39.ต้นลำดวน
40.มะเฟือง
41.มะเกลือ
42.วาสนา
43.หนามแดง
44.ขี้เหล็ก
45.หญ้าแฝก
46.ว่านมหากาฬ
47.มะกอกน้ำ
48.มะขามป้อม
49.กระท้อน
50.มะขวิด
51.จันทน์กะพ้อ
52.แพงพวย
53.มะลิลา
54.โมก
55.ชะอม
56.ฝรั่ง
57.กระชายดำ
58.ตะไคร้
59.เหงือกปลาหมอ
60.จำปี
61.รางจืด
62.มะขาม
63.ผักหวานบ้าน
64.ยอบ้าน
65.คูน
66.สิรินธรวัลลี
67.เสลดพังพอนตัวผู้

แหล่งอ้างอิง : https://sites.google.com/site/tubotany2012/home

ต้นจามจุรี


ชื่อสามัญ : Rain Tree East Indian Walnut,Monkey Pod
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacq.) Merr
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่อพื้นเมือง : ก้ามกราม ก้ามกุ้ง ก้ามปู (ภาคเหนือ) ฉำฉา ลิง สารสร
การกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา : ถิ่นกำเนิดอเมริกาใต้เขตร้อน
ลักษณะทั่วไป :
ต้น - ไม้ต้นสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดแผ่กว้างคล้ายรูปร่ม เปลือกสีดำแตกล่อนได้
ใบ - ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกสลับช่อย่อย มีใบย่อย 2-10 คู่ รูปไข่หรือรูปขนมเปียกปูนเบี้ยว กว้าง 0.7- 4 cm . ยาว 1.5- 6 cm . ปลายโค้งมนเบี้ยว
ดอก - ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาว ดอกรวมเป็นกระจุกที่ปลายก้าน กลีบดอกขนาดเล็ก เชื่อมกันเป็นหลอด เกสรตัวผู้ยาวสีชมพู จำนวนมาก
ผล - เป็นฝักรูปขอบขนาน หรือโค้งเล็กน้อย กว้าง 1.5 - 2.3 cm . ยาว 15 - 20 cm . เมื่อแก่สีดำมีเนื้อนิ่ม เมล็ดรูปรีค่อนข้างมี 15 - 25 เมล็ด
สรรพคุณ : 
   ใบ   - รสเย็นเมา ทำให้เย็น ดับพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน
   เมล็ด   - รสฝาด แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน แก้เยื่อตาอักเสบ
   เปลือกต้น - รสฝาด สมานแผลในปากคอ แก้โรคเหงือกบวม แก้ริดสีดวงทวารหนัก แก้โลหิตตกใน
แหล่งอ้างอิง : http://school.obec.go.th/naphopittayakhom/web/linkthree/jam.htm

ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์


ชื่อสามัญ : Pink Tecoma
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tabebuia rosea    (Bertol.) DC.                        
วงศ์ : BIGNONIACEAE
ชื่ออื่นๆ : ชมพูพันธุ์ทิพย์ ชมพูอินเดีย ธรรมบูชา (กรุงเทพ ฯ)ตาเบบูย่า
ลักษณะทั่วไป :
   เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง  สูงราว ๘-๑๒ เมตร ใบเป็นแบบผสม  มีใบย่อย ๕ ใบบนต้นเดียวกัน แผ่ออกคล้ายใบปาล์ม  ผิวไม่เรียบ  ปลายใบแหลม  ยาวประมาณ ๑๒ เซนติเมตร  กิ่งก้านสาขาแผ่ออกเป็นพุ่มค่อนข้างแน่น    ชมพูพันธุ์ทิพย์  ใบแก่และทิ้งใบในฤดูหนาว  ช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม หลังจากนั้นจะออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน  ดอกออกเป็นช่อตามกิ่งก้าน  ช่อละ ๕-๘ ดอก  ดอกย่อยลักษณะคล้ายดอกผักบุ้งหรือปากแตร  คือโคนดอกเป็นหลอดยาวปลายดอกบานออกเป็น ๕ กลีบ กลีบดอกบาง ย่นเป็นจีบๆ และร่วงหล่นง่าย  จะเห็นดอกชมพูพันธุ์ทิพย์ร่วงหล่นกระจายอยู่รอบๆ ต้น  งดงามพอๆ กับที่บานอยู่บนต้น  ดอกย่อยแต่ละดอกกว้างราว ๘ เซนติเมตร  ยาวราว ๑๕ เซนติเมตร สีของกลีบดอกปกติเป็นสีชมพูสดใส  แต่มีความเข้มและจางแตกต่างกันไป  โดยเฉพาะต้นที่เกิดจากเมล็ดจะมีความผันแปรมากมาย  ตั้งแต่สีชมพูจางเกือบขาวไปจนถึงสีเข้มเกือบเป็นสีม่วงแดง เมื่อดอกชมพูพันธุ์ทิพย์ร่วงหล่นแล้ว  จะติดฝักรูปร่างคล้ายมวนบุหรี่  ยาวราว  ๑๕ เซนติเมตร  เมื่อฝักแก่ราวเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม  จะแตกออกด้านเดียวตามยาว  แล้วเมล็ดที่มีปีกก็ปลิวไปตามลมได้ไกลๆ
ต้นกำเนิดของชมพูพันธุ์ทิพย์  อยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้  ต่อมาได้ถูกนำไปปลูกในเขตร้อนทวีปต่างๆ อย่างแพร่หลายรวมทั้งประเทศไทย
สำหรับประเทศไทยมีบันทึกเป็นหลักฐานว่า  เป็นผู้นำเข้ามาในประเทศครั้งแรกคือ  กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิ์พินิต  และ ม.ร.ว.พันธุ์ทิพย์  บริพัตร  จึงตั้งชื่อตามสีดอก และเป็นเกียรติแก่ผู้นำเข้าว่า  ชมพูพันธุ์ทิพย์  ชื่อเดิมคือ ตาเบบูย่า  มีชื่ออื่นๆ คือ  แตรชมพู  ธรรมบูชา  ชื่อในภาษาอังกฤษคือ  Pink  Trumpet Tree ตามลักษณ์ของดอกนั่นเอง

การขยายพันธ์ : การเพาะเมล็ดหรือการตอนกิ่ง

ประโยชน์ : 
    ใบต้มแก้เจ็บท้องหรือท้องเสียตำให้ละเอียดใส่แผล ลำต้น ใช้ทำฟืน และเยื่อใช้ทำกระดาษได้
แหล่งอ้างอิง : http://www.the-than.com/FLower/Fl-1/58/58.html

ต้นประดู่บ้าน


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plerocarpus Indicus
ชื่อวงศ์ : FABACEAE
ชื่อสามัญ : Padauk
ชื่ออื่นๆ : Burmese Rosewood, ประดู่ , ดู่บ้าน , สะโน (ภาคใต้)
ถิ่นกำเนิด : ประเทศอินเดีย
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
ประวัติและข้อมูลทั่วไป :
ประดู่เป็นพรรณไม้ของอินเดีย ชอบแสงแดดจัดดังนั้นจึงเห็นปลูกกันตามริมถนนใน กทม. ทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ประดู่เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีลำต้นสูงประมาณ 25 เมตร ใบจะออกรวมกันเป็นช่อ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม ถ้าขึ้นในที่แล้งจะผลัดใบก่อนออกดอก ดอกออกเป็นช่อมีสีเหลืองสดลักษณะคล้ายดอกถั่ว โคนกลีบเลี้ยงกลีบดอกติดกันเป็นกรวยโค้งเล็กน้อย กลีบดอกมี 5 กลีบ มีขนาดดอกเล็ก ขณะดอกย่อยบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาร 0.5- 1 ซม. ดอกบานไม่พร้อมกัน มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกที่ใกล้โรยจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล ฤดูดอกบานอยู่ในช่วง เดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม
การปลูกและดูแลรักษา :
ประดู่เป็นไม้กลางแจ้งต้องการแสงแดดจัด ความชื้นสูง ต้องการน้ำปานกลาง สามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิด แต่จะให้ดีควรเป็นดินร่วนซุย
การเป็นมงคล :
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นประดู่ไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดพลังแห่งความยิ่งใหญ่เพราะ ประดู่ คือ ความพร้อม ความร่วมือ ร่วมใจสามัคคี มีพลังเป็ฯอันหนึ่งอันเดียวกัน นอกจากนี้ดอกของประดู่ยังมีลักษณะที่ระดมกันบานเต็มต้นดูลานตา ดังนั้นคนโบราณจึงได้เลือกเอาต้นประดู่เป็นไม้ประจำกอง กองทัพเรือ และคนไทยโบราณยังเชื่ออีกว่า ส่วนของแก่นไม้ยังใช้เป็นศิลปะการดนตรี ที่สำคัญของคนพื้นเมืองในสมัยโบราณอีกด้วย คือใช้ทำเป็นเครื่องเสียงพวกระนาด นั่นก็หมายถึง ความแข็งแกร่ง แข็งแรง
แหล่งอ้างอิง : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9377

ต้นซองออฟจาไมก้า


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dracaena reflexa (Decne.) Lam. ‘Song  of  Jamaica’
ชื่อวงศ์ : AGAVACEAE
ชื่อสามัญ : Song of Jamaica
ข้อมูลทั่วไป : ซองออฟจาไมก้าเป็นไม้พุ่ม ต้นเป็นกอขนาดกลาง แตกแขนงออกตามข้อปล้อง ไม่ทิ้งใบ ซองออฟจาไมก้าจะเจริญเติบโตเร็วมากโดยเฉพาะในที่มีแสงแดดรำไร ชอบน้ำมากแต่ไม่แฉะ ต้องการความชื้นสูง
    ลักษณะใบ เรียงเวียนสลับ ใบรูปใบหอก ปลายใบแหลม ใบกว้าง ประมาณ 3.50 เซนติเมตร ยาวไม่เกิน13 เซนติเมตร พื้นใบสีเขียวเข้ม กลางใบมีลายสีเขียวอ่อน หรือเขียวอมเทาตามความยาวของใบ ไม่มีก้านใบ
     ถิ่นกำเนิด จาไมก้า
    ลักษณะการกระจายพันธุ์ ปัก ชำ ตอนกิ่ง
     ประโยชน์การใช้งาน    เป็นไม้ประดับ
แหล่งอ้างอิง : 
http://www.wangtakrai.com/flora/category/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A/155

ต้นหมากผู้หมากเมีย


ชื่อวิทยาศาสตร์:  Cordyline fruticosa
ชื่อวงศ์:  AGAVACEAE
ชื่อสามัญ:  Cordyline, Ti long Plant Tree of Kings
ชื่อพื้นเมือง:  หมากผู้   มะผู้มะเมีย
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลำต้นตั้งตรงมีขนาดเล็กกลม มีข้อถี่ ลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อน
    ใบ  ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับแตกออกตามข้อของลำต้นซ้อนกันถี่ ใบรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2-10 เซนติเมตร  ยาว 20-50 เซนติเมตร   ปลายใบแหลม  โคนใบแผ่เป็นกาบใบหุ้มลำต้น  ขอบใบเรียบ แผ่นใบเป็นลอนคลื่นเล็กน้อยและมีสีสันแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์ เช่นสีเขียวล้วน แดงล้วน เขียวแถบเหลือง หรือเขียวแถบแดง
    ดอก  สีขาวอมเหลืองหรือม่วงแดง ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงจากส่วนยอดของลำต้น  ช่อละ 5-10 ดอก ดอกย่อยมีขนาดเล็ก มีกลีบเลี้ยง และกลีบดอกอย่างละ 6 กลีบ ดอกมีขนาดยาวประมาณ 1 ซม.
    ฝัก/ผล  ผลสดแบบมีเนื้อ ทรงกลม มีขนาดประมาณ 8 มิลลิเมตร ผลสุกสีแดง มีหลายเมล็ด
    เมล็ด  มีเมล็ดอยู่ 1 - 3 เม็ด
การปลูก:  ปลูกลงกระถาง และปลูกในสวน
การดูแลรักษา:  ขึ้นได้ในดินทั่วไป ความชื้นปานกลาง ชอบแสงแดดปานกลางถึงรำไร
การขยายพันธุ์:  การปักชำ
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    สมุนไพร
    -    ไม้ใบ
สรรพคุณทางยา:  
    -    ใบ  เป็นยาแก้บิด ถ่ายเป็นมูกเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด ไอเจ็บกระเพาะอาหาร ไอเป็นเลือด พอกหรือทา บริเวณที่เป็นบาดแผล
    -    ดอก  เป็นยาแก้วัณโรคปอด ไอ เป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด แ ละเป็นริดสีดวงทวาร ใช้พอก ห้ามเลือด แก้บวมอักเสบ
    -    ราก/หัว  ยาแก้บิด ลำไส้อักเสบ แก้ท้องเสีย และแก้ประจะเดือนมาไม่เป็นปกติ
แหล่งอ้างอิง : http://www.nanagarden.com/Content.aspx?ContentID=10350

ต้นสนฉัตร


ชื่อสามัญ : Nolfolk island pine
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aruacaria heterophylla.
วงศ์ : ARUCARIACEAE
ลักษณะทั่วไป : 
      สนฉัตร์ เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 5-15 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีน้ำตาล ลำต้นมีตุ่มเล็ก ๆ
ขึ้นรอบต้น ลำต้นกลมทรงพุ่มโปร่ง และมีเกล็๋ดใบเล็ก ๆ ออกตามต้นส่วนยอดการเจริญแตกกิ่งก้านเป็นชั้นๆออกไปตาม แนวนอน ส่วนลำต้นขึ้นตรงไปใบเป็นใบกระกอบออกตามกิ่งก้านเป็นเกล็ด มีลักษณะเป็นขนสั้นเล็กมีสีเขียว เรียงตัวกันแน่น
การเป็นมงคล :
       คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นสนฉัตรไว้ประจำบ้าน จะทำให้เกิดความสนใจจากบุคคลทั่วไป เพราะ สน คือการสนใจ เห็นใจ ในสิ่งที่ดีงามนอกจากนี้ยังทำให้มีเกียรติและความสง่า เพราะ สนฉัตร มีทรงพุ่มลักษณะคล้ายเครื่องสูงที่ใช้ในพิธแห่เกียรติยศ และลักษณะการเจริญของลำต้นกิ่งก้านเด่นชัด ตระหว่านงาม
ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก : 
      เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นสนฉัตรไว้ทางทิศเหนือผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ ถ้าจะให้เป็ฯมงคลมากยิ่งขึ้น ผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือ และเป็นผู้ประกอบคุณงามความดีก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งนัก
การปลูก :  การปลูกมี 2 วิธี
  1 .การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก
  2. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคาร นิยมใช้กับต้นสนฉัตรอายุระหว่าง 1-3 ป การปลูกควรใช้กระถางทรงสูง ขนาด12-18 นิ้วใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก:แกลบผุ:ดินร่วนอัตรา 1:1:1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถางแล้วแต่ความเหมาะสมของทรงพุ่ม ถ้าต้นสนฉัตรมีอาจุมากกว่า 5 ป ขึ้นไป เหมาะที่จะปลูกในแปลงปลูกเพราะทรงพุ่มโตขึ้น
การดูแลรักษา :  
แสง                      ต้องการแสงแดดปานกลาง จนถึงแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง

น้ำ                        ต้องการปริมาณน้ำมาก ควรให้น้ำ 3-5 วัน/ครั้ง

ดิน                       ชอบดินร่วนซุย มีความชื้นสูง

ปุ๋ย                       ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 3-5 ครั้ง

การขยายพันธ์      การปักชำ การเพาะเมล็ด วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การเพาะเมล็ด

โรค                      โรครากเน่า

ศัตรู                 ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องศัตรู เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อการทำลายของศัตรูพอสมควร

อาการ                  ใบซีดเหลือง ร่วง และแห้งตาย เกิดบริเวณปลายกิ่ง

การป้องกัน           ควบคุมการให้น้ำ และความชื้นในดินที่เหมาะสม

การกำจัด              ใช้ยาแคปแทน ไซแนบ อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก

แหล่งอ้างอิง : http://www.maipradabonline.com/maimongkol/sonchut.htm

ต้นพระยาสัตบรรณ


ชื่อสามัญ : Devil Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alstonia scholaris
วงศ์ : APOCYNACEAE
ชื่ออื่น : ตีนเป็ดไทย
ลักษณะทั่วไป :
พญาสัตบรรณเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ 12-20 เมตรผิวลำต้นมีสะเก็ดเล็กๆสีขาวปนน้ำตาลกรีดดูจะมียางสีขาว ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขามากลักษณะเป็นชั้น ๆ ใบออกเป็นกลุ่มบริเวณปลายกิ่งช่อหนึ่งมีใบประมาณ 5-7 ใบ ก้านใบสั้น ใบสีเขียวถ้าเด็ดก้านใบจะมียางสีขาวลักษณะใบยาวรีปลายใบมนโคนใบแหลมขนาดใบยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือส่วนยอดของลำต้นดอกเป็นกลุ่มคล้ายดอกเข็ม ช่อหนึ่งจะมีกลุ่มดอกประมาณ 7 กลุ่มดอกมีสีขาวอมเหลืองผลเป็นฝักยาว ลักษณะเป็นเส้นๆ มีขุยสีขาวคล้ายฝ้ายปลิวไปตามลมได้ ในฝักมีเมล็ดเล็กๆ ติดอยู่กับขุยนั้น

ความเป็นมงคล :
คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นสัตบรรณไว้ประจำบ้านจะทำให้มีเกียรติเพราะพญาสัตบรรณหรือฉัตรบรรณคือเครื่องสูงที่ใช้ในขบวนแห่เป็นเกียรติยศ และ พญา ก็คือ ผู้เป็นใหญ่ที่ควรยกย่อง เคารพนับถือ ดังนั้นพญาสัตบรรณจึงเป็นไม้มงคลนาม นอกจากนี้การเจริญเติบโตของทรงพุ่มมีลักษณะคล้ายกับฉัตรคือเป็นชั้นๆ และยังมีความเชื่ออีกว่าบ้านใดปลูกต้นพญาสัตบรรณไว้ประจำบ้านจะได้รับการยกย่องและนับถือจากบุคคลทั่วไปเพราะสัตคือสิ่งที่ดีงามมีคุณธรรมดังนั้นจึงเป็นที่เคารพนับถือและยก
ย่องของคนทั่วไป

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก :
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นพญาสัตบรรณไว้ทางทิศเหนือผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ถ้าให้เป็นมงคลยิ่งขึ้นผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือและเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดี ก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งนัก

การปลูก :
นิยมปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ควรห่างจากบ้านพอสมควรเพราะเมื่อมีอายุมาก ขนาดทรงพุ่มจะสูงใหญ่ ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก

การดูแลรักษา :
แสง                             ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ                               ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง
ดิน                              ชอบดินร่วนซุย
ปุ๋ย                               ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 2: 3 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 3-4 ครั้ง
การขยายพันธุ์               การเพาะเมล็ด และการปักชำ
โรคและศัตรู                 ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและศัตรู เพราะมีความทนทานสภาพธรรมชาติได้ดี

แหล่งอ้างอิง : http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6/BotanicalGarden/sattaban.html

ต้นจันผา


ชื่อวิทยาศาสตร์:  Dracaena loureiri Gagnep.
ชื่อวงศ์:  AGAVACEAE
ชื่อพื้นเมือง:  ลักกะจันทน์ จันแดง จันทร์แดง
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นไม้พุ่ม สูง 1.5- 2 เมตร ร ไม่ผลัดใบ รูปทรงไม่แน่นอน ต้นตรง เปลือกเกลี้ยง สีเทา ใบ เดี่ยว ออกเวียนเรียงสลับถี่ที่ปลายยอด
    ใบ  เรียวยาว กว้าง 4- 6 ซม. ยาวประมาณ 50 ซม. ปลายใบแหลม สีเขียวเข้ม  ก้านใบมีกาบหุ้มซ้อนทับกันรอบต้น
    ดอก  ออกเป็นช่อใหญ่ตามซอกใบ กลีบดอก 6 กลีบ ตรงกลางดอกมีจุดสีแดง  ดอกสีขาว
    ฝัก/ผล  รูปทรงกลม  เล็ก สีเขียว เมื่อสุกสีแดงคล้ำ เป็นพวงคล้ายผลหมากเล็ก ๆ
ฤดูกาลออกดอก:  กรกฎาคม- สิงหาคม
การดูแลรักษา:  ชอบขึ้นบริเวณแสงแดดจัด ทนแล้ง ลมแรง และทนเค็ม ไม่ชอบน้ำขังแฉะ
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด  ปักชำต้น
การใช้ประโยชน์:  
    - ไม้ประดับ
    - สมุนไพร
สรรพคุณทางยา:  แก่นมี รสขมเย็น ใช้แก้ไออันเกิดจากซางและดี บำรุงหัวใจ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้บาดแผล และใช้เป็นส่วนผสมในน้ำยาอุทัย ใช้ทำยาหอม ช่วยบำรุงหัวใจ ดับพิษไข้
แหล่งอ้างอิง : http://www.nanagarden.com/%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%B2-10253-13.html

ต้นหูกวาง


ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Indian Almond, Sea Almond
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia catappa L.
วงศ์ : COMBRETACEAE
ชื่ออื่นๆ : โคน ดัดมือ ตัดมือ , ตาปัง , ตาแปห์ , หูกวาง , หลุมปัง
ถิ่นกำเนิด : ป่าชายหาด ตามโขดหินริมทะเล
ประเภท : ไม้ยืนต้น
รูปร่างลักษณะ : ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 8-20 เมตร เปลือกเรียบ แตกกิ่งตามแนวนอนเป็นชั้นๆ - ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง แผ่นใบรูปไข่กลับ กว้าง 8-15เซนติเมตร ยาว 12-25 เซนติเมตร - ดอก เล็ก สีขาวนวล ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน - ผล รูปไข่หรือรูปรีแบนเล็กน้อย กว้าง 2-5 เซนติเมตร ยาว 3-7เซนติเมตร
การขยายพันธ์ : ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี ขึ้นตามหาดทราย และขึ้นได้ทั่วไป
ประโยชน์ : เปลือกและผล มีรสฝาดมาก ใช้แก้ท้องเสีย ฟอกหนังสัตว์ ทำหมึก เมล็ดในผล รับประทานได้ ให้น้ำมันคล้ายอัลมอนด์
แหล่งอ้างอิง : http://www.l3nr.org/posts/413851

ต้นโมก


ชื่อวิทยาศาสตร์:  Wrightia religiosa Benth.
ชื่อวงศ์:  APOCYNACEAE
ชื่อพื้นเมือง:  โมกบ้าน หลักป่า ปิดจงวา
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 5-12 เมตร ผิวเปลือกสีนำตาลดำ ลำต้นกลมเรียบมีจุดเล็ก ๆสีขาวประทั่วต้น แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบลำต้นไม่เป็นระเบียบ
    ใบ  ใบเดียวออกเรียงกันเป็นคู่ตามก้านใบลักษณะใบ เป็นรูปไข่ รี ปลายใบมนแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบบางสีเขียว ขนาดใบกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร
    ดอก  ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ อยู่ตามปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมีดอก 4-8 ดอก ดอกจะคว่ำหน้าลงสู่พื้นดินมีกลีบดอก 5 กลีบ มีสีขาวกลิ่นหอม ดอกบานเต็มที่มีขนาด ประมาณ 2 เซนติเมตร
    ฝัก/ผล  รูปทรงกระบอกจะออกมาเป็นคู่ ลักษณะโค้งงอเข้าหากัน ภายในมีเมล็ดเรียงอยู่เป็นจำนวนมาก ขนาดความยาวของฝักประมาณ 10-15 เซนติเมตร
    เมล็ด  จำนวนมาก มีขนสีขาวเป็นกระจุกที่ปลาย  ออกดอกตลอดปี
ฤดูกาลออกดอก:  ตลอดปี
การปลูก:  การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน และปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน
การดูแลรักษา:  ชอบขึ้นในที่ชุ่มชื้น
การขยายพันธุ์:  การตอน การเพาะเมล็ด การปักชำ วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การเพาะเมล็ด การปักชำ
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอก
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    สมุนไพร
ถิ่นกำเนิด:  พม่า  เวียดนาม เขมร มาเลเซีย ฟิลิปปินส์
สรรพคุณทางยา:
    -    รากใช้รักษาโรคผิวหนัง  เรื้อน คุดทะราด แก้พิษสัตว์กัดต่อย
    -    ใบ ใช้ขับน้ำเหลือง
    -    ดอก เป็นยาระบาย
    -    เปลือก เป็นยาเจริญอาหาร รักษาโรคไต
    -    ยางจากต้นแก้บิด
แหล่งอ้างอิง : http://www.nanagarden.com/%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%81-10215-13.html

ต้นวาสนา


ชื่อสามัญ : Cornstalk Plant
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dracaena Fragrans Massangeana
วงศ์ : AQAVACEAE
ถิ่นกำเนิด : เอธิโอเปีย ไนจีเรีย กินี
ลักษณะ :
วาสนา เป็นไม้ที่มีขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 5–6 เมตร ชอบแสงแดดจัด แต่ก็เป็นที่นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับหนึ่ง เนื่องจากรูปทรงที่สวยแปลกตาและคงทนอยู่ได้แม้ในที่มีแสงสว่างน้อย วาสนามีลำต้นตั้งตรง มีสีน้ำตาลอ่อน ใบแตกจากหน่อที่ปลายลำต้น เป็นใบเดี่ยวลักษณะเรียวยาว ปลายแหลมโคนสอบเข้าหาใบซึ่งเป็นกาบติดกับลำต้น พื้นใบมีสีเขียวมีลายสีเหลืองพาดกลางไปตามความยาวของใบ ใบอ่อนจะแตกตรงส่วนยอดของต้น ดอกออกเป็นช่อสีเหลือง กลิ่นหอม
การขยายพันธุ์ :
โดยใช้ปักชำยอดหรือลำต้น หรือตัดลำต้นเป็นท่อนๆ ยาวประมาณ 6–8 นิ้ว ตั้งใส่ถาดตื้นๆ หล่อน้ำไว้จนแตกหน่อแตกใบ
การปลูก :
ขึ้นได้ในดินทุกชนิด ส่วนผสมของดินใช้ดินร่วน 2 ส่วน ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก 1 ส่วน เศษใบไม้ผุ 1 ส่วน
การดูแลรักษา :
เป็นพืชที่ชอบแดดจัดแต่ก็อยู่ในที่ร่มรำไรได้ ควรหมั่นรดน้ำ เพื่อให้ดินชุ่มน้ำอยู่เสมอแต่อย่าให้แฉะ ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกละลายน้ำรดเดือนละครั้ง หมั่นทำความสะอาดใบ โดยใช้ผ้าเช็ดก็จะดี ช่วยป้องกันแมลงจำพวกเพลี้ยได้
แสงแดด แดดจัด
อุณหภูมิ 18–24 องศาเซลเซียส
ความชื้น ต้องการความชื้นสูง
น้ำ ต้องการน้ำมาก
อัตราการคายความชื้น ปานกลางถึงมาก
อัตราการดูดสารพิษ มาก
แหล่งอ้างอิง : http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/17651-00/

ต้นนมแมว


ชื่อวิทยาศาสตร์:  Rauwenhoffia siamensis Scheff.
ชื่อวงศ์:  ANNONAEAE
ชื่อสามัญ:  Rauwenhoffia siamensis
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ขนาดไม่สูงนัก สูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้น กิ่ง และก้านมีสีคล้ำ
    ใบ  ใบเดี่ยวออกเป็นคู่ ลักษณะของใบเป็นรูปหอก  โคนใบมน ปลายใบแหลมยาวประมาณ 3 นิ้ว ใบด้านบนสาก มีขนตามเส้นกลางใบ
    ดอก  เป็นดอกเดี่ยว เหมือนดอกลำดวน แต่เล็กกว่ากลีบบางกว่าไม่งุ้มโค้งมากเท่าดอกลำดวน สีขาวออกเหลืองนวล มี 6 กลีบ แบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบดอกแข็งและสั้น เมื่อบานเต็มที่มีขนาดประมาณ 0.5 นิ้ว
    ฝัก/ผล  ออกเป็นพวง  เมื่อสุกสีเหลืองอมส้ม รับประทานได้
ฤดูกาลออกดอก:  มีดอกเกือบตลอดปี
การปลูก:  นิยมปลูกประดับและตัดแต่งให้เป็นทรงพุ่มสวยงาม
การดูแลรักษา:  ชอบดินที่มีความชุ่มชื้นระบายน้ำได้ดี
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอกกลิ่นหอมแรงในเวลาเย็นถึงค่ำ
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    สมุนไพร
    -    ดอก กลั่นทำน้ำหอม
    -    บริโภค
ถิ่นกำเนิด:  ประเทศไทย
แหล่งที่พบ:  ชายป่าชื้นทางภาคใต้ และภาคกลางของประเทศไทย
สรรพคุณทางยา:
    -    ดอก มีน้ำมันหอมระเหยมีกลิ่นหอมใช้แต่งกลิ่น
    -    เนื้อไม้และราก ต้มรับประทานแก้ไข้กลับ ไข้ซ้ำ
    -    ราก เป็นยาแก้โรคผอมแห้งของสตรีเนื่องจากคลอดบุตรอยู่ไฟไม่ได้
แหล่งอ้างอิง : http://www.nanagarden.com/%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%A7-10158-13.html

ต้นปีบ


ชื่อวิทยาศาสตร์  : Millingtonia  Hortensis  Linn.
วงศ์  : BIGNONIACEER
ชื่อท้องถิ่น  : คนไทยทั่วไปเรียก  ต้นปีบ ภาคเหนือเรียก  กาซะลอง  ตะวันตกเฉียงเหนือก็เรียก  กาซะลอง
ลักษณะพืช  : ต้นปีบ  ถือว่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบเล็กแต่เป็นจัก  ปลายใบแหลม  ดอกต้นปีบเป็นสีขาว  ก้านดอกเล็ก  มีกลิ่นหอม  ลักษณะคล้ายกับดอกต้นท้าวยายม่อม ออกฝักคล้ายกับฝักแค  ยาวประมาณ  6 นิ้วเศษ  แก่นของต้นปีบสีขาวเหลือง
การปลูก  : ต้นปีบนั้นโดยมากขึ้นเอง โดยทั่วไปในป่าไม้เบญจพรรณ  ชอบขึ้นตามป่าเชิงเขา  ในที่ชื้น  ตามวัดวาอาราม  สามารถงอกงามดีในพื้นที่ทั่วทุกภาคในประเทศไทย  แต่หากจะขยายพันธุ์ก็จะต้องตอนเอากิ่งไปปลูกก็ได้  หรือเพาะเมล็ดเอาก็ได้  โดยการเอาเมล็ดจากฝักแก่ไป  หว่าน  งอกเป็นต้นขึ้นมาก็เอากล้าที่เติบโตแข็งแรง  แล้วไปปลูกในถุงพลาสติกจน  เติบโตจึงย้ายไปในหลมปลูก  ดูแลรดน้ำ  กำจัดวัชพืชให้ดีจะเจริญเติบโตไม่ยาก
ส่วนที่ใช้เป็นยา  : ราก
รสและสรรพคุณยาไทย  : เอารากของต้นปีบสดหรือตากแห้งมาต้มเอาน้ำดื่ม บำรุงปอด  แก้วัณโรคปอดหรือปอดพิการ  แก้อาการเหนื่อยหอบได้ดี  เรียกว่าทำให้ระบบการหายใจดีขึ้นได้
แหล่งอ้างอิง : http://www.ajareeherb.com/2010-06-10-03-39-49/2010-07-09-10-13-54.html

ต้นพลู


ชื่อวิทยาศาสตร์  : Piper betle Linn.
วงศ์  : PIPERACEAE
ชื่อท้องถิ่น  : เปล้าอ้วน ซีเก๊าะ (มลายู - นราธิวาส ) พลูจีน (ภาคกลาง)
ลักษณะของพืช  : พลูเป็นไม้เลื้อย  มีข้อ และมีปล้องชัดเจน ใบเดี่ยวติดกับลำต้น แบบสลับคล้ายใบโพธิ์  ปลายแหลม  หน้าใบมัน  ดอกออกรวมกันเป็นช่อแน่น
การปลูก  : ใช้ลำดับต้นที่มีข้อ 3-5 ข้อ ปักชำจนรากออกดีแล้ว จึง ย้ายไปปลูกในหลุม ทำค้างให้เถาพลูเลื้อยด้วย คอยดูแลความชุ่มชื้น กำจัดวัชพืชให้ดี ศัตรูพืชก็เช่นเดียวกัน และจำต้องให้ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ เช่น 15 วันต่อครั้ง
ใบพลูเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่สำคัญในการส่งออก ประเทศที่นำเข้าใบพลูจากประเทศไทยส่วนมากเป็นประเทศทางตะวันออกกลางนั่นเอง ปากีสถานและอัฟกานิสถาน และัยังไม่เพียงพอในการจำหน่ายในต่างประเทศด้วย  พลูส่วนมากปลูกกันในภาคกลางและภาคอีสาน
ส่วนที่ใช้เป็นยา  : ใบสด
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา   : เก็บในช่วงสมบูรณ์เต็มที่
รสและสรรพคุณยาไทย  : รสเผ็ดร้อนเป็นยาฆ่าเชื้อโรค ขับลม ในชนบทใช้ใบพลูตำกับเหล้าทาบริเวณที่เกิดเป็นลมพิษให้หายได้ ใช้รับประทานกับหมากและปูนแดงก็ได้ โดยมากเป็นคนเก่าๆ ที่ชอบรับประทานหมาก
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์  : ใบพลูมีน้ำมันหอมระเหย (Essential oil)  ประกอบด้วย chavicol,  chavibitol,  cineol,  eugenoi,  carvacrol,  caryophyllene,  B-sitosterol  และอื่นๆ สารเหล่านี้มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ โรคได้  ทำให้ปลายประสาทเกิดความชา  แก้อาการคันได้ดี  เนื่องจากยังไม่มีรายงานการศึกษา  ฤทธิ์แก้แพ้  แก้อักเสบ จากสารประกอบ อาจจะ เป็นสารพวก B- sitosterol  ที่ช่วยในการลดอาการอักเสบ
วิธีใช้  : ใบพลู  ใช้เป็นยารักษาอาการแพ้  อักเสบ  แมลงสัตว์กัดต่อย ได้ผลดีมาก  กับอาการแพ้ในลักษณะลมพิษ  โดยการเอาใบพลูมาสัก 1-2 ใบ ล้างให้สะอาด  ตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าโรง  ทาบริเวณที่เกิดลมพิษ  แต่ห้ามใช้กับแผลเปิดจะทำให้เกิดอาการแสบมาก
แหล่งอ้างอิง : http://www.ajareeherb.com/2010-06-10-03-39-49/2010-07-05-08-34-03.html

ต้นเสลดพังพอนตัวผู้


ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Barleria lupulina Lindl.
ชื่อสามัญ :   Hop Headed Barleria
วงศ์ :   ACANTHACEAE
ชื่ออื่น :  พิมเสนต้น (ภาคกลาง) ทองระอา ช้องระอา ลิ้นงูเห่า เสลดพังพอนตัวผู้ (กรุงเทพฯ) คันชั่ง (ตาก) อังกาบ อังกาบเมือง (ไทย) ก้านชั่ง (พายัพ)
ชื่อภาษาอังกฤษ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูงประมาณ 1 เมตร มีหนามแหลมยาว ข้อละ 2 คู่ ถึง 3 คู่กิ่งก้าน ก้านใบสีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยวสีเขียวเข้ม เส้นกลางใบแดง ดอกช่อออกที่ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 8 ซม. มีใบประดับสีน้ำตาลแดง ค่อนข้างกลม กลีบดอกสีส้ม ผลเป็นฝักรูปไข่
ส่วนที่ใช้ : ราก ใบ ส่วนทั้ง 5

สรรพคุณ :

ราก  -  แก้ตาเหลือง หน้าเหลือง เมื่อยตัว กินข้าวไม่ได้ แก้เจ็บท้อง แก้ผิดอาหาร ถอนพิษงู พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ปวดฟัน

ใบ - ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ลมพิษ รักษาเม็ดผื่นคันตามผิวหนัง แก้โรคเบาหวาน แก้ปวดแผล แผลจากของมีคมบาด แก้โรคฝีต่างๆ รักษาโรคคางทูม แก้โรคไฟลามทุ่ง แก้ขยุ้มตีนหมา แก้โรคงูสวัด รักษาโรคเริม ถอนพิษจากเม็ดตุ่มฝีดาษ รักษาโรคฝีดาษ แก้ฟกช้ำ แก้ช้ำบวมเนื่องจากถูกของแข็ง ถอนพิษไข้ พิษไข้ทรพิษ แก้ปวดฟัน เหงือกบวม แก้ริดสีดวงทวาร แก้ยุงกัด แก้พิษไฟลวกน้ำร้อนลวก แก้ปวดจากปลาดุกแทง

ส่วนทั้ง 5 - ใช้เหมือนเสลดพังพอนตัวเมีย และใช้แทนเสลดพังพอนตัวเมียได้ แต่ใบเสลดพังพอนตัวเมียมีรสจืด ใบเสลดพังพอนตัวผู้มีรสขมมาก และเสลดพังพอนตัวผู้มีฤทธิ์อ่อนกว่าเสลดพังพอนตัวเมีย

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          ใช้เหมือนเสลดพังพอนตัวเมียทุกอย่าง
สารเคมี : 
          ต้น  พบ Iridiod glycoside, Acetyl barlerin , Barlerin, Shanzhiside methyl ester.
แหล่งอ้างอิง : http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_20_7.htm

ต้นทับทิม



ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Punica granatum  L.
ชื่อสามัญ :   Pomegranate , Punica apple
วงศ์ :    PUNICACEAE
ชื่ออื่น :   พิลา (หนองคาย) พิลาขาว มะก่องแก้ว (น่าน) มะเก๊าะ (เหนือ) หมากจัง (แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้น หรือพรรณไม้พุ่ม ขนาดเล็ก ลักษณะผิวเปลือกลำต้นเป็นสีเทา ส่วนที่เป็นกิ่งหรือยอดอ่อนจะเป็นเหลี่ยม หรือ มีหนามแหลมยาวขึ้น ใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปยาวรี โคนใบมน แคบ ส่วนปลายใบเรียวแหลมสั้น ผิวหลังใบ เกลี้ยงเป็นมัน ใต้ท้องใบจะเห็นเส้นใบได้ชัด ขนาดของใบกว้างประมาณ 1 - 1.8 ซม. ยาว ประมาณ 2.5 - 6 ซม. ดอก ดอกออกเป็นช่อ หรืออาจจะเป็น ดอกเดียว ในบริเวณปลายยอด หรือง่ามกิ่ง ลักษณะของดอกมีเป็น สีส้ม สีขาว หรือสีแดง ดอกหนึ่งมีกลีบดอกประมาณ 6 กลีบ ปลายกลีบ ดอกจะแยกออกจากกัน ตรงกลางดอกมีเกสร ตัวเมีย และตัวผู้ซึ่งมีอับเรณูเป็นสีเหลือง ขนาดของดอกบานเต็มที่มีเส้นผ้าศูนย์กลางประมาณ 2 - 3 ซม. ผลมีลักษณะเป็นรูปค่อนข้าง กลม ผิวเปลือกนอกหนาเกลี้ยง ผลเมื่อแก่หรือ สุกเต็มที่มีสีเหลืองปนแดง และลักษณะของผล จะแตก หรืออ้างออก ข้างในผลก็จะมีเมล็ดเป็น จำนวนมาก เป็นรูปเหลี่ยม มีสีชมพูสด ดอก ดอกออกเป็นช่อ หรืออาจจะเป็น ดอกเดียว ในบริเวณปลายยอด หรือง่ามกิ่ง ลักษณะของดอกมีเป็น สีส้ม สีขาว หรือสีแดง ดอกหนึ่งมีกลีบดอกประมาณ 6 กลีบ ปลายกลีบ ดอกจะแยกออกจากกัน ตรงกลางดอกมีเกสร ตัวเมีย และตัวผู้ซึ่งมีอับเรณูเป็นสีเหลือง ขนาดของดอกบานเต็มที่มีเส้นผ้าศูนย์กลางประมาณ 2 - 3 ซม. ผลมีลักษณะเป็นรูปค่อนข้าง กลม ผิวเปลือกนอกหนาเกลี้ยง ผลเมื่อแก่หรือ สุกเต็มที่มีสีเหลืองปนแดง และลักษณะของผล จะแตก หรืออ้างออก ข้างในผลก็จะมีเมล็ดเป็น จำนวนมาก เป็นรูปเหลี่ยม มีสีชมพูสด
ส่วนที่ใช้ :  ใบ ดอก เปลือกผลแห้ง เปลือกต้นและเปลือกราก เมล็ด

สรรพคุณ :
ใบ - อมกลั้วคอ ทำยาล้างตา

ดอก - ใช้ห้ามเลือด

เปลือกและผลแห้ง
- เป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน แก้บิด
- แก้โรคลักกะปิดลักกะเปิด

เปลือกต้นและเปลือกราก
- ใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด , พยาธิตัวกลม

เมล็ด - แก้โรคลักกะปิดลักกะเปิด

วิธีและปริมาณที่ใช้

ถ่ายพยาธิตัวตืดและพยาธิตัวกลม ได้ผลดี
ใช้เปลือกสดของราก , ต้น ที่เก็บใหม่ๆ 60 กรัม หรือประมาณ 1/2 กำมือ เติมกานพลูหรือกระวานลงไปเล็กน้อย เพื่อแต่งรส ต้มกับน้ำ 3 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 1/2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ (30 ซี.ซี.) หลังจากนั้นประมาณ 2 ชั่วโมง รับประทานยาถ่าย เช่น ดีเกลือ 2 ช้อนโต๊ะตาม ควรอดอาหารก่อนรับประทานยา

ยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน (ไม่ใช่บิด หรือ อหิวาตกโรค)
ใช้เปลือกผล ตากแดดให้แห้ง ประมาณ 1/4 ของผล ฝนกับน้ำฝนหรือน้ำปูนใสให้ข้นๆ รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง หรือต้มกับน้ำปูนใส แล้วดื่มน้ำที่ต้มก็ได้

บิด (มีอาการปวดเบ่ง และมีมูก หรืออาจมีเลือดด้วย)
ใช้เปลือกผลแห้งของทับทิม ครั้งละ 1 กำมือ (3-5 กรัม) ต้มกับน้ำ ดื่มวันละ 2 ครั้ง อาจใช้กานพลูหรืออบเชยแต่งกลิ่นให้น่าดื่มก็ได้

สารเคมี
           เปลือกผลมีรสฝาด เนื่องจากมี tannin 22-25% gallotannic acid สารสีเขียวอมเหลือง รากมีสารอัลคาลอยด์ ชื่อ pelletierine และอนุพันธ์ของ pelletierine
คุณค่าด้านอาหาร
          ทับทิมใช้รับประทานเป็นผลไม้รสหวาน หรือเปรี้ยวหวาน มีวิตามินซี และแร่ธาตุหลายตัว ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน และบำรุงฟันให้แข็งแรง
แหล่งอ้างอิง : http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_07_3.htm